เจาะลึกการทำอิ๊กซี่ วิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้มีบุตรยากได้มากที่สุด


การทำอิ๊กซี่

                เชื่อว่าผู้มีบุตรยากหลายคนที่กำลังหาวิธีการรักษาอยู่นั้น คงรู้จักกับการทำอิ๊กซี่ หรือการทำเด็กหลอดแก้วแบบ Intracytoplasmic Sperm Injection (ICSI) เป็นอย่างดี เพราะเป็นวิธีที่มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าวิธีอื่น ซึ่งเหตุผลที่เป็นอย่างนั้น อาจพูดได้ว่าเป็นเพราะขั้นตอนของการทําอิ๊กซี่มีความละเอียดสูง แบ่งย่อยได้มากถึง 7 ขั้นตอน และต้องใช้ทักษะจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ควบคู่กับเทคโนโลยีสมัยใหม่

แต่ 7 ขั้นตอนที่ว่านั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง บทความนี้จะพาไปทุกคนไปเจาะลึกพร้อมกัน

เริ่มต้นการทำอิ๊กซี่ด้วย Consultation

                ขั้นตอนแรกสำหรับผู้มีบุตรยากที่ต้องการทำอิ๊กซี่ คือ เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก เพื่อตรวจเช็กสุขภาพร่างกายของว่าที่คุณพ่อคุณแม่ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับท่อนำไข่และมดลูก ความผิดปกติของเชื้ออสุจิ ลักษณะทางพันธุกรรม ฯลฯ และซักถามข้อมูลสำคัญ เช่น อายุ การคุมกำเนิด ประวัติการตั้งครรภ์ ไลฟ์สไตล์ ประวัติการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ การแพ้ยา เป็นต้น เพราะทั้งหมดนี้สำคัญกับโอกาสในการปฏิสนธิและตั้งครรภ์ ความปลอดภัยระหว่างทำการรักษา รวมถึงการประเมินอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

Ovarian Stimulation กระตุ้นไข่ให้พร้อมก่อนการทำอิ๊กซี่

                หลังจากที่ตรวจเช็กแล้วว่าร่างกายของผู้มีบุตรยากพร้อมต่อการทำอิ๊กซี่ แพทย์จะพาว่าที่คุณแม่เข้าสู่กระบวนการกระตุ้นรังไข่ประมาณ 9-14 วัน เพื่อให้ได้เซลล์ไข่คุณภาพดีจำนวนหลายใบ

                อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญมาก หากไม่มีการตรวจประวัติสำคัญ หรือตรวจเช็กร่างกายโดยละเอียด อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่าง ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome: OHSS) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ก็มีโอกาสที่จะลุกลามรุนแรงได้ อาทิ ทำให้รังไข่โตมาก มีน้ำในช่องท้องและช่องอก ปัสสาวะออกน้อย เลือดเข้มข้นผิดปกติ เส้นเลือดอุดตัน และเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่ผู้มีบุตรยากมีอายุน้อยกว่า 35 ปี มีดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่าปกติ มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) เกิดการตั้งครรภ์ในรอบที่กระตุ้นรังไข่ และเคยมีประวัติการเป็น OHSS จากการทำอิ๊กซี่มาก่อน

Egg Retrieval & Sperm Preparation

                การเจาะเก็บไข่ออกมาเพื่อย้ายไปใส่ในน้ำยาเลี้ยงและเก็บไว้ในเครื่องมือเฉพาะ ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณก๊าซต่างๆ เพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ โดยหลังจากปล่อยให้ไข่ได้เจริญเติบโตจนถึงระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว แพทย์จะนำไข่เหล่านั้นเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิสนธิ

ICSI Fertilization ปล่อยให้ปฏิสนธิ

                เมื่อได้เซลล์ไข่เชื้ออสุจิที่สมบูรณ์แล้ว แพทย์จะนำมาเก็บไว้ในเครื่องมือพิเศษ เพื่อปล่อยให้อสุจิได้ปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ และจะทำการตรวจผลหลังจากนั้นประมาณ 16-18 ชั่วโมง

เลี้ยงตัวอ่อนระยะ Blastocyst

                คือขั้นตอนการเลี้ยงตัวอ่อน ภายหลังการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ด้วยกระบวนการทำอิ๊กซี่ในห้องปฏิบัติการ

Preimplantation Genetic Testing

                เป็นการวินิจฉัยตัวอ่อนก่อนนำเข้าสู่ขั้นตอนการตั้งครรภ์ เพื่อหาความผิดปกติของตัวอ่อนในกระบวนการทำอิ๊กซี่ให้ลึกถึงระดับโครโมโซม หากมีความผิดปกติ อาจต้องหาทางแก้ไข หรือยุติการตั้งครรภ์ด้วยตัวอ่อนนี้

Embryo Transfer

                หากวินิจฉัยแล้วพบว่าตัวอ่อนมีความสมบูรณ์ แข็งแรงดี แพทย์จะย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

ทำอิ๊กซี่ที่เจตนิน

                สำหรับผู้สนใจเข้ารับการรักษาการมีบุตรยากด้วยการทำอิ๊กซี่ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเจตนิน โทร 02-655-5300 หรืออีเมล info@jetanin.com ที่นี่มีห้องปฏิบัติการเฉพาะทางที่ได้รับการรับรองสากลทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย และใช้เทคโนโลยีทันสมัยในทุกขั้นตอน