“น้ำกัดเท้า” โรคยอดฮิตช่วงหน้าฝน ที่คนกรุงยากจะเลี่ยง


น้ำกัดเท้า

                ภาพน้ำท่วมขังในย่านชุมชน บนถนน ทางเชื่อมรถไฟฟ้า หรือน้ำเอ่อล้นแม่น้ำเจ้าพระยา ดูจะเป็นสิ่งคุ้นตา และเป็นความคุ้นเคยในช่วงหน้าฝนของคนกรุงเทพ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่วนมาให้พบเจอได้บ่อย ๆ ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ราบลุ่มแม่น้ำ และผังเมืองที่แออัด ทำให้หลายคนต้องลุยน้ำท่วมอย่างเลี่ยงไม่ได้ จน “โรคน้ำกัดเท้า” มาเยือน 

น้ำกัดเท้า…เจ็บไหม

            เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัยกันไม่มากก็น้อยว่าโรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s Foot) ถ้าเป็นขึ้นมาจะเจ็บไหม เพราะในชื่อมีคำว่า “กัด”… คำตอบคือ มีทั้งเจ็บและไม่เจ็บ เพราะอาการของโรคมีตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม คือ เท้าเปื่อย แดง และลอก ซึ่งจะยังไม่เกิดความเจ็บปวด แค่อาจมีอาการคันบ้าง เนื่องจากผิวหนังระคายเคืองจากการแช่น้ำสกปรกนานเกินไป

                แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา และยังมีการแช่น้ำซ้ำอีก รวมถึงเกาผิวหนังเป็นแผล ก็จะเข้าสู่ระยะรุนแรงขึ้นอย่างการติดเชื้อรา โดยเชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes (กลุ่มเดียวกันกับเชื้อราก่อโรคกลาก) จะเข้าสู่ผิวหนังที่เปื่อยลอก และทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา อาการคือจะเริ่มมีผื่นแดง ผิวหนังเปื่อยยุ่ย และลอกมากขึ้น ทั้งบริเวณฝ่าเท้าและซอกนิ้ว ซึ่งระยะนี้เท้าจะเริ่มส่งกลิ่นเหม็น และมีความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับน้ำกัดเท้า

            สิ่งหนึ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดคือ โรคน้ำกัดเท้าเป็นการติดเชื้อราทุกเคส แต่จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ทุกเคสที่จะติดเชื้อได้ เพราะการติดเชื้อราบริเวณผิวหนังจำเป็นต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งเพื่อให้เชื้อเจริญเติบโต ดังนั้นถ้าเดินลุยน้ำท่วมขังเพียงไม่กี่ครั้ง แล้วมีอาการคัน ผิวหนังแดง หรือลอก ก็อาจจะยังไม่ติดเชื้อรา แค่ล้างทำความสะอาดเท้าให้ดี เช็ดให้แห้งอยู่เสมอ และไม่เกาซ้ำ ก็เพียงพอ

น้ำกัดเท้าระยะติดเชื้อรักษาได้

            อย่างไรก็ตาม หากรักษาไม่ทันหรือรักษาความสะอาดในช่วงแรกไม่ดีพอ จนโรคน้ำกัดเท้าลุกลามไปไกลถึงระยะติดเชื้อรา ก็ไม่ได้น่ากลัวจนเกินไป เพราะสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทายาที่มีส่วนผสมของ โครไตรมาโซล (Clotrimazole) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา รักษาอาการคันและอักเสบที่เกิดจากเชื้อราได้ ยกตัวอย่างเช่นยายอดฮิตที่อยู่คู่คนไทยมานานอย่าง ซีม่าครีม (Zema Cream) ที่มีข้อบ่งชี้ใช้สำหรับรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา กลาก เกลื้อน ผื่นคันในร่มผ้า และน้ำกัดเท้า เพียงทายาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้ง โดยระยะเวลาในการใช้ยา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร

                นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ยากำจัดเชื้อราอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น ซีม่าโลชั่น (Zema Lotion) โลชั่นแบบน้ำที่มีตัวยา Salicylic acid Resorcinol และ Phenylic Acid ซึ่งกำจัดเชื้อราด้วยกลไก 3 ประสาน ลดการกลับมาเป็นซ้ำและการดื้อยา เพียงใช้สำลีชุบยา และทาบางๆ เบาๆ วันละ 1 ครั้ง หลีกเลี่ยงการถู แกะ เกาแผล

                แต่ไม่ว่าจะใช้ตัวยาแบบใด ก็ต้องใช้เวลาในการรักษาสักระยะหนึ่ง และควรใช้ยาต่อเนื่องตามคำแนะนำ เพราะหากใช้แบบขาด ๆ หาย ๆ จะทำให้เกิดอาการดื้อยา รักษาหายช้า หรือไม่หายได้ และจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวยาในที่สุด ซึ่งนั่นหมายถึงการยืดเวลารักษาให้นานขึ้นไปอีก

                แม้ว่าน้ำท่วมและโรคน้ำกัดเท้าจะเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ของคนกรุงเทพ แต่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาที่ถูกกับโรคอย่างถูกวิธี แต่ทางทีดี หลังจากลุยน้ำท่วมมาแล้ว อย่าลืมทำความสะอาดเท้าให้ดี และหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่เปียกชื้น ก็จะช่วยให้อาการของโรคไม่รุนแรงจนต้องใช้ยา